เขียนโดย Web Master
|
วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2012 เวลา 10:57 น. |
FAQ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ |
|
 |
ต้องการจองซื้อวัวกองบำรุงพันธุ์สัตว์ทำอย่างไร |
ตอบ : ทำตามขั้นตอนตามลิ๊งค์นี้ http://www.dld.go.th/breeding/b/Ready/BuyBeefCattle.html แต่ไม่รับจองเฉพาะโคบราห์มัน
|
|
ขอใบพันธุ์ประวัติทำอย่างไร |
ตอบ : การขอใบพันธุ์ ประวัติวัวกรมปศุสัตว์ วัวที่ซื้อมาจาหน่วยงานของ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ ทุกตัว สามารถขอใบพันธุ์ประวัติได้ ทำหนังสือแจ้งว่าต้องการใบพันธุ์ประวัติพร้อมแนบเอกสาร ตามนี้ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี 1. ชื่อเจ้าของตรงกับในใบเสร็จรับเงิน ทำบันทึกขอพันธุ์ประวัติ โดยแนบสำเนาใบเสร็จรับเงิน + สำเนาบัตรประชาชน รับรองสำเนาถูกต้อง 2. ชื่อเจ้าของไม่ตรงกับในใบเสร็จรับเงิน(ซื้อต่อมา) ทำบันทึกขอพันธุ์ประวัติ โดยแนบสำเนาใบเสร็จรับเงิน + สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของแรกและเขียนว่าได้จำหน่ายให้กับนาย...และลงลายมือ ชื่อ + สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของใหม่ รับรองสำเนาถูกต้อง ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ใบเสร็จหายสามารถไปขอคัดสำเนาได้
|

|
ความหลากหลายทางชีวภาพ ( Biological Diversity ) คืออะไร
|
ตอบ : ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง ความหลากหลายทางชีวภาพมี 3 ระดับ 1 ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ( Ecolosystem Diversity ) 2 ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetic Diversity ) 3 ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ ( Species Diversity )
|
ความหลากหลายทางพันธุกรรม
|
ตอบ : ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบด้วยกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด แม้ในสิ่งมีชีวิตเดียวกันก็ยังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดสาย พันธุ์ต่างๆ อันเป็นรากฐานสำคัญที่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตให้สอดคล้อง กับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ได้อย่างมประสิทธิภาพ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้สืบไป
|
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
|
ตอบ : ในปี พ.ศ.2530 สหพันธ์อนุรักษ์ธรรมชาติแห่งโลก ได้ยกร่างสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on biological diversity - CBD) ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อวางมาตรการต่างๆ ในการคุ้มครองสิ่งมีชีวิตและถิ่นที่อยู่ที่หลากหลาย รวมถึงวางมาตรการควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์
|
ใน อนุสัญญา ได้มีผลบังคับใช้เป็นระเบียบนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2536 ถือว่าเป็นอนุสัญญานานาชาติฉบับแรกที่ครอบคลุมการอนุรักษ์ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้รับการลงสัตยาบันจากนานาประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมิได้ลงสัตยาบันต่ออนุสัญญาฉบับนี้เพียงได้ลงนามรับรองไว้ ตั้งแต่ปี 2535 อนุสัญญา มีเป้าหมายหลัก 3 ประการคือ 1.อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2. ใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 3. แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม เนื้อหาของอนุสัญญา ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มีลักษณะเป็นกรอบนโยบายที่กว้างซึ่งในการดำเนินงาน แต่ละประเทศจะต้องจัดทำนโยบายมาตรการและแผนการดำเนินงานขึ้นเอง ดังนั้น อนุสัญญา จึงได้เตรียมกลไก การเงิน คือ กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกไว้สนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวฃองประเทศกำลังพัฒนา
|
|
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ การค้า ความหลากหลายทางชีวภาพ |
ตอบ : - เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม พยายามวางเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงทรัพยากร บน "ความตกลงร่วมกัน" - แบ่งปันผลประโยชน์ จัดให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียม กัน นั่นคือ การจ่ายค่าชดเชยให้แก่การนำทรัพยากรพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์ หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีที่พัฒนาจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมนั้น - จัดหาให้และหรือเอื้ออำนวยการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในการแบ่งปันผลประโยชน์ จัดหา/เอื้ออำนวยต่อการถ่ายทอดให้แก่ภาคีอื่น ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้คุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote sensing) หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) และเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งใช้ทรัพยากรพันธุกรรม เช่น การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของพืชไร่ พืชสวน ที่เป็นอาหาร การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา จักต้องอยู่ "ภายใต้เงื่อนไขที่ยุติธรรม และด้วยความพึงพอใจที่สุด" และโดยที่มี "การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิผล"  การเงินสำหรับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ - จัดหาเงินทุนใหม่และเพิ่มเติม ประเทศที่กำลังพัฒนาแล้วต้องจัดหา ทรัพยากรการเงินทั้งใหม่และเพิ่มเติม เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาได้มีค่าใช้จ่ายเพียงพอในการอนุวัตรการอนุสัญญา กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environmental Facility - GEF) เป็นกลไกการเงินเฉพาะการ เพื่อบริหารการจัดการการเงินภายใต้อนุสัญญาฯสมัชชาภาคี (Conference of the paties)จะเลือกกลไกการเงินถาวรการประชุมสมัยที่สามในเดือนพฤศจิกายน 2539 กฎเกณฑ์สำหรับพิธีการ - สร้างกฎเกณฑ์ที่ควบคุมดูแลพิธีการและกองทุน อนุสัญญา ไม่ระบุกฎเกณฑ์สำหรับพิธีการ สมัชชาภาคีต้องสร้างกฎเกณฑ์ สำหรับการประชุมเอง และสำหรับหน่วยสาขาใดๆ ที่จัดตั้งขึ้น เช่นเดียวกับกฎเกณฑ์ทางการเงินที่ควบคุมดูแลกองทุนแก่สำนักเลขาการอนุสัญญาฯ กฎเกณฑ์พวกนี้ต้องได้รับการยอมรับโดยทั่วไป มิใช่เป็นเสียงส่วนใหญ่เท่านั้น |
ประเทศไทยกับอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ
|
ตอบ : การที่ประเทศไทยได้ลงนามรับรองอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ ณ กรุงเอริโอ เดอ จาเนโร เมื่อปี 2535 เพราะรัฐบาลได้มองเห็นประโยชน์และคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรความหลากหลาย ทางชีวภาพที่มีต่อมนุษย์ และที่สำคัญ คือ รัฐบาลเล็งเห็นว่าประเทศชาติจะอยู่รอดและเจริญรุ่งเรืองอย่างเข้มแข็งได้ก็ ต่อเมื่อทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของไทยได้ รับการอนุรักษ์ และมีการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดและยั่งยืนนั่นเอง เพราะข้อสัญญาที่ปรากฎใน "อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ" เป็นการกำหนดพันธกรณีให้ประเทศที่เป็นภาคี มุ่งมั่นดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์สามประการ คือ
|
1. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2. การใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน 3. การแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียม และยุติธรรม แม้ว่า ขณะนี้ไทยยังมิได้ให้สัตยาบัน แต่ประเทศไทยได้ดำเนินการอนุรักษ์ ค้นคว้าและวิจัย เกี่ยวกับทรัพยากรความหลากหลายทาง ชีวภาพของประเทศมาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อีกทั้งได้ให้ความร่วมมือกับนานาประเทศ เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นไปด้วยดี ปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกับร่างระเบียบสำนักนายกฯ นี้แล้ว เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2541 อย่างไรก็ตาม เพื่อความสมบูรณ์ของระเบียบฯกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ขอปรับปรุงระเบียบให้มีความครอบคลุมถึงเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ ด้วยและคาดหวังว่าร่างระเบียบฯ นี้ จะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการประกาศใช้ระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรีนี้ต่อไป
|
|
|
 |
กองบำรุงพันธุ์สัตว์มีโคซาฮิวาล (SW) ขายหรือไม่ |
ตอบ : โคพันธุ์ซาฮิวาล (รวมทั้งน้ำเชื้อ) มีจำหน่ายที่สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ปากช่อง ตู้ ปณ. 40 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โทร 044-313-072 ทั้งนี้ต้องขึ้นบัญชีจองไว้ก่อน และต้องดูวัตถุประสงค์การเลี้ยงโคของผู้ที่จะซื้อด้วย เพราะเป้าหมาย การเลี้ยงโคซาฮิวาลของกองบำรุงพันธุ์สัตว์ คือ การอนุรักษ์โคพันธุ์ซาฮิวาล ถ้าผู้ใดต้องการเลี้ยงโคซาฮิวาลต้องเลี้ยงแบบอนุรักษ์พันธุ์แท้
|
|
พบปัญหาเกี่ยวกับโรคโคนม |
ตอบ : โทรไปสอบถามได้ที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ (สสช.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร จ.กรุงเทพมหานคร โทร 02-579-8908-14 |
|
ข้อมูลโปรแกรม DHI |
ตอบ : สอบถามข้อมูลของโปรแกรม DHI สามารถสอบถามได้ที่กลุ่มวิจัยและพัฒนาโคนม กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ พญาไท จ.กรุงเทพมหานคร โทร 02-653-4451 หรือ 02-653-4444 ต่อ 3221,3222
ต้องการขอโปรแกรมไปใช้ ต้องทำหนังสือแจ้งความจำนงค์มาที่ กลุ่มวิจัยและพัฒนาโคนม กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ พญาไท จ.กรุงเทพมหานคร 10400 แล้วทางกลุ่มวิจัยฯ โคนมจะพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
|
|
อยากเลี้ยงโคนมต้องทำอย่างไรบ้าง |
ตอบ : พื้นที่เลี้ยงโคต้องอยู่ในเขตชลประทาน มีน้ำตลอดปีใช้พื้นที่ 3 ไร่ ต่อโค 1 ตัว ในการปล่อยแทะเล็มทั้งปี หากนอกเขตชลประทาน ที่อาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ต้องใช้พื้นที่ 5 ไร่ ต่อโค 1 ตัว ถ้ามีการปลูกหญ้าแบบปราณีต ใช้วิธีตัดมาให้โคกิน มีการใส่ปุ๋ยให้น้ำ สามารถ ใช้พื้นที่เพียง 1 - 1.5 ไร่ สำหรับเลี้ยงโคนม 1 ตัว เช่น การปลูกหญ้าเนเปียร์แบบประณีต ตัดทุก ๆ 6 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยทุกครั้งที่ตัด ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 3,000 กก./ไร่/ปี หรือน้ำหนักสด 12,000 กก./ไร่/ปี ส่วนหญ้ารูซี่ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 2,000 - 2,500 กก./ไร่/ปี หรือน้ำหนักสด 8,000 - 10,000 กก./ไร่/ปี ทั้งนี้ปริมาณหญ้าหรือพืชอาหารสัตว์ที่ผลิตได้จะเป็นตัวบ่งชี้จำนวนโค ที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงได้ โดยทั่วไปโคนมจะกินหญ้าหรือพืชอาหารสัตว์ 10 - 15 % ของน้ำหนักตัว เช่น โคมีน้ำหนักตัว 300 กก. จำเป็นต้องหาพืชอาหารสัตว์ให้โค 30 - 45 กก. อย่างไรก็ตามโคจะกินหญ้าได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพของพืชอาหารสัตว์ ถ้าหญ้าอ่อนโคกินได้มาก ส่วนหญ้าแก่โคจะกินได้น้อยหรือใช้ประโยชน์ได้น้อย นอกจากนั้นตั้งแต่ปี 2542 หากจะเลี้ยงโคนมผู้เลี้ยงจำเป็น ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานฟาร์มโคนม และการผลิตน้ำนมดิบของประเทศไทย เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำนมให้ได้มาตรฐาน จึงมีสิ่งที่ต้องทราบดังนี้
- ทำเลที่ตั้งฟาร์มควรอยู่ห่างจากศูนย์รวมนมไม่เกิน 20 กม. และอยู่ห่างจากแหล่งชุมชนไม่น้อยกว่า 5 กม.
- ต้องมีโรงเรือนเลี้ยงโคนม โรงรีดนม มีพื้นที่ต่อโค 1 ตัวไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตรสำหรับโคยืนโรง และมีพื้นที่ต่อโค 1 ตัวไม่น้อยกว่า 6 ตารางเมตรสำหรับโรงเลี้ยงระบบปล่อย
- ต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์ม
- มีระบบบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ
- มีการจัดสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะมูลสัตว์ น้ำเสีย และซากสัตว์
- มีการผลิตน้ำนมดิบที่สะอาด
- การจัดการด้านสุขภาพ
รายละเอียดศึกษาเพิ่มเติมได้จาก คู่มือระเบียบการปฏิบัติงานมาตรฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบของประเทศไทย พ.ศ. 2542
|
|
โคพันธุ์ไทยฟรีเชียน (TF) และ โคพันธุ์ ที เอ็ม แซด (TMZ) แตกต่างกันอย่างไร |
ตอบ :
โคนมพันธุ์ไทยฟรีเชี่ยน (TF) หมายถึง โคนมที่มีสายเลือดโคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียนสูงกว่า 75 % เกษตรกรทั่วไปเรียกว่า “ โคเลือดสูง ” หรือเป็นโค Upgrade โคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน โดยมีเป้าหมายสามารถให้ผลผลิตน้ำนมเฉลี่ย 4,500 กิโลกรัม ต่อระยะการให้นม มีความสมบูรณ์พันธุ์ดี และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมแบบ ร้อนชื้นได้ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีประสบการณ์ ในการเลี้ยงโคนมมาแล้ว
|
โคนมพันธุ์ทีเอ็มแซด (TMZ) หมายถึง โคนมที่มีสายเลือดโคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน 75 %ส่วนอีก 25 % เป็นโคพันธุ์ซีบู ูหรือโคนมลูกผสมบราห์มันพื้นเมืองหรือเรดซินดี้พื้นเมือง หรือเกษตรกรทั่วไปมักเรียกโคพันธุ์นี้ว่า “โคเลือด 75 ” เป้าหมาย สามารถให้ ผลผลิตน้ำนมเฉลี่ย 3,500 กิโลกรัมต่อระยะการให้นม ทนต่อโรคแมลงและเห็บ มีความสมบูรณ์พันธุ์ดี และสามารถปรับตัวต่อ สภาพแวดล้อมแบบร้อนชื้นได้ดี โคพันธุ์นี้เหมาะสำหรับเกษตรกรรายใหม่และรายย่อย ในส่วนของกรมปศุสัตว์ได้มีการเลี้ยงและศึกษาโคนมพันธุ์นี้ ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ลำพญากลาง จังหวัดนครราชสีมา |
|

|
ปัจจัยที่ทำให้ไข่เป็ดฟักมีเชื้อดี ได้แก่อะไร
ตอบ
|
การทำให้ไข่ฟักมีเชื้อดี ในการฟักไข่ถ้าไข่ไก่มีเชื้อ หรือเชื้อตายมาก นอกจากจะทำให้เสียเนื้อที่ในตู้ฟักไข่แล้ว ยังขาดทุนค่าไข่สดอีกด้วย ไข่มีเชื้อที่ดีขึ้นกับสิ่งต่อไปนี้ - ช่วงเวลาที่เอาตัวผู้เข้าผสม - ฤดูกาล - อาหาร - อายุพ่อ-แม่พันธุ์ - การไข่ - การเลือกคู่ผสมพันธุ์ - การผสมพันธุ์
|
|
ที่เหมาะสมในการฟักไข่เป็ด ควรเป็นช่วงใด
ตอบ
|
อายุ ไข่จากแม่เป็ดที่ไข่มาแล้ว 2-3 อาทิตย์ จะมีเปอร์เซ็นต์ฟักออกดีมาก จนถึงอายุ 12-14 สัปดาห์ หลังจากนั้นเปอร์เซ็นต์การฟักออกจะค่อยๆต่ำลง แม่เป็ดที่ไข่ปีแรกหรืออายุหลังจาก 6-18 เดือน จะมีเปอร์เซ็นต์การฟักออกแข็งแรง สมบูรณ์กว่าปกติ
|
|
การผสมพันธุ์หลังจากปล่อยพ่อพันธุ์เข้าคุมฝูงกี่เดือนจึงจะเปลี่ยนพ่อพันธุ์ใหม่
ตอบ
|
3 เดือนควรเปลี่ยนพ่อพันธุ์
|
|
การเก็บรักษาไข่ฟัก ควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบ
|
1. เก็บไข่จากเล้าบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 3-6 ครั้ง ทำความสะอาดโดยการรมยาก่อนเก็บเข้าห้องเย็น รมยาด้วยด่างทับทิมผสมฟอร์มาลีน 2. ระวังอย่าให้ไข่สกปรกเปรอะเปื้อน 3. วางไข่ให้ด้านป้าน ซึ่งมีช่องอากาศขึ้นตรง 4. อย่าให้ไข่ฟักเปื้อนน้ำมันเครื่อง เพราะจะไปอุดตันที่เปลือกได้ไข่ 5. ควรนำไข่ฟักเข้าฟักทุกอาทิตย์ หรือทุก 3-4 วันยิ่งดี แม้มีห้องเย็นก็ไม่ควรเก็บไข่นานเกิน 2 อาทิตย ์ 6. รักษาห้องเก็บไข่ให้สะอาด ถาด หรือภาชนะใส่ไข่สะอาด อย่าให้มีกลิ่นเป็นพิษ
|
|
การฟักไข่นกกระ จอกเทศโดยตู้ฟักไข่มีการจัดการและปัจจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
ตอบ
|
1.
|
อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 35.5-36.3 องศาเซลเซียล
|
2.
|
ความชื้น( Humidity ) ความชื้นที่เหมาะสม ประมาร 20-25 % หากความชื้นน้อยไปลูกนกจะติดเปลือกและตาย
|
3.
|
การ ระบายอากาศ (Ventilation) การที่อุณหภูมิและความชื้นจะถูกเปลี่ยนแปลงให้เกิดปฏิกริยาละลายเข้าในระบบ การดูดซึมของตัวลูกนกได้จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนไปช่วยทำปฏิกริยาเพื่อเปลี่ยน ให้เป็นพลังงานส่วนที่เป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนที่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกขับออกทางเปลือกหากไม่มีการระบายอากาศ ออกจะทำให้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สูงมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อลูกนก ปริมาณออกซิเจนในอากาศที่เหมาะสมคือ 21%
|
4.
|
การกลับไข่ (Turning) การกลับไข่ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลูกนกแห้งติดเปลือกไข่ คงรกลับไข่อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง ถ้าเป็นตู้อัติโนมัติจะตั้งกลับทุกๆ 2 ชั่วโมง
|
5.
|
การ ส่องไข่ ( candling ) สำหรับการส่องไข่นกกระจอกเทศ จะทำ 2-3 ครั้ง โดยในครั้งแรกจะส่องเมื่อฟักไข่ไปแล้ว 7-10 วัน แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ อาจส่องดูอีกครั้งเมื่อฟักไปแล้ว 20-21 วัน
|
|
|
การผสมเทียมไก่ มีวิธีการใช้อย่างไร
ตอบ
|
พ่อ 1 ตัว ผสมกับตัวเมียได้ 30-50 ตัว การผสมครั้งหนึ่งๆ น้ำเชื้อสามารถอยู่ในท่อนำไข่ของตัวเมีย 7-10 วัน วิธีผสมเทียมในทางปฏิบัติมี 3 ขั้นตอน
1.
|
ขั้นตอนการรีดน้ำ ชื้อตัวผู้ จะต้องใช้คน 2 คน คือ คนอุ้มไก่ตัวผู้กระชับไว้ที่เอวยื่นหางไก่ออกข้างหน้า หัวไก่อยู่ด้านหลังของคนอุ้มให้ไก่อยู่ระหว่างเอวกับแขนขวาขณะอีกคนหนึ่งทำ การรีดน้ำเชื้อไก่มือขวา คนรีดน้ำเชื้อถือกรวยเล็กสำหรับรองรับน้ำเชื้อหรือจะเป็นแก้วน้ำหรือถ้วย พลาสติกขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว ภาชนะต้องล้างสะอาด ล้างด้วยน้ำกลั่น หรือน้ำเกลือที่เตรียมไว้สำหรับเจือจางน้ำเชื้อไก่ เวลารีดน้ำเชื้อ ควรใช้มือซ้าย ลูบหลังพ่อไก่เบาๆจากโคนปีกผ่านมาที่หลังและโคนหาง
|
2.
|
เมื่อ ได้น้ำเชื้อมาแล้วให้ทำเจือจางโดยใช้กลั่นที่ละลายเกลือแกงบริสุทธิ์ความ เข้มข้นของเกลือเท่ากับ 0.75% จำนวน 2-3 เท่าของน้ำเชื้อใช้ปลายไซริ้งที่ใช้ฉีดน้ำเชื้อคนให้เข้ากันให้ดี แล้วจึงนำไปฉีดเข้าที่ปากทางเข้าท่อของไก่ตัวเมีย ตัวละ 0.01 - 0.02 ซี ซี หรือ 1ซี ซี ฉีดได้ 50-100 ตัว
|
3.
|
การ ฉีดน้ำเชื้อตัวเมียต้องใช้ 2 คนขึ้นไปให้ใช้มือเปิดหางแม่ไก่ให้กระดกขึ้นพอเห็นทวารและปากท่อนำไข่ที่แม่ ไก่จะดันปากท่อนำไข่ โผล่ออกมาจะเห้นอยู่ด้านซ้ายของทวารหนัก ที่ปากท่อนี้เป็นที่สอดไวซิ้งเข้าไปประมาณ 1-2 นิ้ว ในแนวขนานกับลำตัว แล้วฉีดน้ำเชื้อเข้าไป
|
|
|
|
 |
ควรจะเลี้ยงแพะพันธุ์ไหนดี |
ตอบ : ขึ้นอยู่กับว่าเลี้ยงแล้วจะขายใคร ตลาดที่จะขายส่วนใหญ่ต้องการบริโภคเนื้อหรือนม อาหารที่ใช้ เลี้ยงมีเพียงพอหรือไม่
แพะนมต้องเสริมอาหารข้นหรือพืชตระกูลถั่วเพื่อให้แพะใช้ผลิตน้ำนม - แพะเนื้อ ที่ให้ผลผลิตเนื้อสูง ได้แก่ แพะพันธุ์บอร์ - แพะนม ที่ให้ผลผลิตนมสูง ได้แก่พันธุ์ซาเนน - แพะกึ่งเนื้อกึงนม แนะนำเลี้ยงแพะพันธุ์แองโกลนูเบียน เกษตรกรรายใหม่หรือรายย่อย ควรเริ่มต้นเลี้ยงแพะพื้นเมืองหรือลูกผสมระดับเลือด 50-75 %
|
|
ควรเริ่มต้นเลี้ยงแพะอย่างไร |
ตอบ : เกษตรกรรายใหม่ควรซื้อแพะจากฟาร์มที่น่าเชื่อถือ ปลอดโรค จำนวนเริ่มต้นเลี้ยง 5-10 ตัว ขึ้นกับ ประสบการณ์และทุนทรัพย์
ใช้พ่อ 1 ตัว ต่อแม่ 4-9 ตัว ลูกตัวเมียคัดลักษณะดีเก็บไว้ทำพันธุ์ เพื่อขยายฟาร์ม ส่วนลูกตัวผู้ขายพันธุ์หรือขุนขายเนื้อ
|
|
ต้นทุนการเลี้ยงแพะ |
ตอบ : การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะหมดไปกับค่าอาหาร 75 % แต่สำหรับแพะกินอาหารได้หลากหลาย เนื่องจากแพะมีตุ่มรับรสขม
กินใบไม้ต่างๆ ได้ สามารถใช้วัสดุเหลือจากการเกษตร เปลือกผลไม้ จากตลาดสด ทำให้ลดต้นทุนค่าอาหารได้
|
|
ตลาดแพะอยู่ที่ไหน |
ตอบ : ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเป็นชาวมุสลิม นักท่องเที่ยวชาวแอฟริกา ตะวันออกกลาง มาเลเซีย ดังนั้นผู้ เลี้ยงควรคำนึงถึงตลาดผู้บริโภค
โรงแรมนักท่องเที่ยวด้วย เพราะค่าน้ำมันขนส่งที่แพงขึ้น
|
|
ควรจะเลี้ยงแกะพันธุ์ไหนดี |
ตอบ : ขึ้นอยู่กับว่าเลี้ยงแล้วจะขายใคร ตลาดที่จะขายส่วนใหญ่ต้องการบริโภคเนื้อ อาหารที่ใช้เลี้ยงมีเพียงพอหรือไม่ - แกะเนื้อ ที่ให้ผลผลิตเนื้อสูง ได้แก่ พันธุ์ดอร์เปอร์ ซานต้าอิเนส และคาทาดีน - แกะขน ที่ให้ผลผลิตนมสูง ได้แก่ พันธุ์บอนด์ และคอร์ริเดล เกษตรกรรายใหม่หรือรายย่อย ควรเริ่มต้นเลี้ยงแกะพื้นเมืองหรือลูกผสมระดับเลือด 50-75 %
|
|
ควรเริ่มต้นเลี้ยงแกะอย่างไร |
ตอบ : เกษตรกรรายใหม่ควรซื้อแกะจากฟาร์มที่น่าเชื่อถือ ปลอดโรค จำนวนเริ่มต้นทดลองเลี้ยง 5-10 ตัว ขึ้นกับประสบการณ์
และทุนทรัพย์ใช้พ่อ 1 ตัว ต่อแม่ 4-9 ตัว ลูกตัวเมียคัดลักษณะดีเก็บไว้ทำพันธุ์ เพื่อขยายฟาร์ม ส่วนลูกตัวผู้ขายพันธุ์หรือขุนขายเนื้อ
|
|
ต้นทุนการเลี้ยงแกะ |
ตอบ : การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะหมดไปกับค่าอาหาร 75 % และแกะจะกินหญ้าประมาณ 3 ใน 4 ส่วน ของปริมาณอาหารที่กินได้
|
|
ตลาดแกะอยู่ที่ไหน
|
ตอบ : ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเป็นชาวมุสลิม โรงแรมที่มีนักท่องเที่ยวชาวยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง
ดังนั้น ผู้เลี้ยงควรคำนึงถึงตลาดผู้บริโภค โรงแรมนักท่องเที่ยวด้วย เพราะค่าน้ำมันขนส่งที่แพงขึ้น
|
ควรจะเลี้ยงกวางพันธุ์ไหนดี
|
ตอบ : ขึ้นอยู่กับว่าเลี้ยงแล้วจะขายใคร ตลาดที่จะขายส่วนใหญ่ต้องการบริโภคเนื้อหรือเขาอ่อน อาหารที่ใช้เลี้ยงมีเพียงพอหรือไม่
กวางต้องเสริมพืชตระกูลถั่วเพื่อสร้างเขาอ่อน - กวางเนื้อ ที่เลี้ยงเพื่อให้ผลผลิตเนื้อ ได้แก่ กวางรูซ่า กวางแซมบ้า - กวางที่เลี้ยงตัดเขาอ่อน ได้แก่พันธุ์กวางแซมบ้า กวางซีก้า เกษตรกรรายใหม่หรือรายย่อย ควรเริ่มต้นทดลองเลี้ยงกวางรูซ่า
|
|
ควรเริ่มต้นเลี้ยงกวางอย่างไร |
ตอบ : เกษตรกรรายใหม่ควรซื้อกวางจากฟาร์มที่น่าเชื่อถือ ปลอดโรค จำนวนเริ่มต้นเลี้ยง 5-10 ตัว ขึ้นกับทุนทรัพย์ ใช้พ่อ 1 ตัว
ต่อแม่ 4-9 ตัว ลูกตัวเมียเก็บไว้ทำพันธุ์เพื่อขยายฟาร์ม ลูกตัวผู้ขุนขายเนื้อ
|
|
ต้นทุนการเลี้ยงกวาง |
ตอบ : การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะหมดไปกับค่าอาหาร 75 % แต่สำหรับกวางกินอาหารได้หลากหลาย สามารถใช้วัสดุเหลือจากการ
เกษตรเปลือกผลไม้จากตลาดสด ทำให้ลดต้นทุนค่าอาหารได้
|
|
ตลาดกวางอยู่ที่ไหน |
ตอบ : ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเป็น ผู้มีฐานะ นักท่องเที่ยว ดังนั้น ผู้เลี้ยงควรคำนึงถึงตลาดผู้บริโภค โรงฆ่าสัตว์
|
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2012 เวลา 14:30 น. |