ไก่เหลืองหางขาวกบินทร์บุรี
กรมปศุสัตว์มีนโยบายที่จะอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งพันธุกรรมสัตว์โดยเฉพาะสัตว์พื้นเมือง ซึ่งไก่พื้นเมืองไทยเหลืองหางขาวได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เพื่อพัฒนาไก่ให้เป็นไก่พันธุ์แท้ ที่มีลักษณะภายนอกสม่ำเสมอเป็นเอกลักษณ์ประจำพันธุ์สามารถใช้จำแนกพันธุ์ ได้ลักษณะประจำพันธุ์ (Breed characteristics) ได้ฝูงไก่ที่ยังคงมีลักษณะเด่นในความเป็นแม่ที่ดี มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง (จากการรวบรวมไก่จากหลายภูมิภาคของไทย) ทำให้มีโอกาสที่จะคัดเลือกปรับปรุงให้มีคุณภาพเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญให้ดีขึ้นกว่าไก่พื้นเมืองไทยทั่วไปทั่วไป โดยดำเนินการอนุรักษ์ วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ไก่เหลืองหางขาวกบินทร์บุรีที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์กบินทร์บุรี
ลักษณะประจำพันธุ์
ประเภท (Classification) – พันธุ์หนัก(Heavy)
สีเปลือกไข่(Egg color) – สีนวล(Tinted)
รูปร่าง - สูงตรง(Upright) มีคอ-แข้ง-ขายาว
ลักษณะท่าทาง - ปราดเปรียว(Active) กล้า(Bold) สง่างาม(Graceful)
เพศผู้ มีขนลำตัว-หน้าอกสีดำกระขาว ขนหางสีดำแซมขาว
สร้อยคอ-หลังสีเหลืองอมส้ม ปาก-แข้งสีเหลืองหงอนถั่ว
เพศเมีย มีขนลำตัวสีดำกระขาว ไม่มีสร้อยคอ-หลัง
ปาก-แข้งสีเหลือง หงอนถั่ว
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก 189 วัน
น้ำหนักตัวเมื่อให้ไข่ฟองแรก 1.93 กิโลกรัม
น้ำหนักไข่ 48 กรัม
ผลผลิตไข่ 111 ฟอง/แม่/ปี
อัตราการผสมติด 80-85 %
อัตราการฟักออกจากไข่มีเชื้อ 86-88 %
น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้ 3.14 กิโลกรัม
เพศเมีย 2.28 กิโลกรัม
จุดเด่น ไก่เหลืองกบินทร์ เมื่อชำแหละเป็นซากแล้ว สีแข้งเหลือง เป็นที่นิยมของผู้บริโภคไก่พื้นเมืองไม่มีขนสร้อยคอ-หลัง และหงอนมีขนาดเล็กกว่า สีขนขนเหลืองอมส้ม ดำกระขาว เมียขนสีดำ